ถอดหัวโขน Part 2
สวัสดีค่ะ ชาว steemit,
หลังจากได้รับเสียงชื่นชมและต้อนรับอย่างล้นหลาม เกี่ยวกับเรื่องการให้ข้อมูล การทำหัวโขนหนุมานไปแล้ว เมื่อ 2 วันก่อน วันนี้วิเลยอยากจะเสนอ เศียรพระพิฆเนศ เพราะพระพิฆเนศเป็นเทพของศาสนาฮินดูที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในระดับสากล และเป็นเทพแห่งการเรียนรู้ ศิลปวิทยา และการค้าขาย
วัฒนธรรมไทยเรานั้นได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดูค่อนข้างมาก เช่น ภาษาสันสกฤต คนไทยก็มีชื่อมาจากภาษาสันสกฤตกันเยอะเลยค่ะ หรือจะเกี่ยวกับพราหมณ์ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีการบวงสรวงต่างๆ ไม่ว่าจะการตั้งศาลพระภูมิ หรือพิธีแรกนาขวัญก็ต้องมีพราหมณ์มาทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ให้ ดังนั้นศาสนาพุทธและฮินดู ก็เหมือนพี่น้องคลานตามกันมา โดยศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ถ้าเพื่อนๆ ไปเดินห้างใหญ่แถวๆ สี่แยกราชประสงค์เพื่อนๆ จะรับรู้ได้ถึงความเชื่อของคนไทยที่ให้ความนับถือกับเทพของศาสนาฮินดูกันอย่างมาก หรือถ้าใครเคยได้ไปเที่ยวที่วัดแขก ก็จะได้เห็นถึงความสวยงาม, ความน่าหลงใหลแบบลึกลับของเทพต่างๆ เสียดายที่ไม่เคยได้ถ่ายรูปไว้เลยค่ะ
ศาลพระพรหม โรงแรมเอราวัณ แยกราชประสงค์ เป็นเทพของศาสนาฮินดู ที่โด่งดังมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมากที่มีความศรัทธาจะแวะมากราบไหว้ขอพรกันไม่ขาดสาย
ความสวยงามของวัดแขก ใครที่ไม่เคยไปอยากให้ไปสัมผัสถึงมนต์เสน่ห์ของวัดนี้ค่ะ จะได้ยินเสียงเพลงบทสวด กลิ่นกำยาน การประดับประดา ที่แตกต่างจากศาสนสถานของศาสนาอื่นๆ วัดนี้เหมือนมีมนต์สะกดเลยค่ะ
Image Source
จำได้สมัยเด็กๆ วิชอบอ่านประวัติเทพต่างๆ ของศาสนาฮินดู เพราะเป็นตำนานที่อ่านแล้วสนุกมาก ๆ มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง เหมือนมนุษย์เราเลยค่ะ เผลอๆ สนุกกว่าละครทางช่อง 3 อีกนะค่ะ อิๆ
Image Source
ออกนอกทะเลไปเยอะเลย กลับมาที่การทำเศียรพระพิฆเนศกันดีกว่า ขั้นตอนการทำก็เหมือนกับการทำเศียรหนุมานค่ะ ซึ่งต้องใช้ความละเอียด ประณีต และความอดทนในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้สวยงาม ผลงานทุกชิ้นเป็นงานทำมือ ไม่มีการใช้เครื่องจักรใดๆ ทั้งสิ้น สมกับเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญอย่างแท้จริง
ขั้นตอนที่ 1 การปั้นเศียรด้วยดิน และปล่อยให้ดินแห้งแข็งตัว
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อดินแห้งตัวแล้วก็นำเอากาวที่ผสมกับดินสอพองละลายให้เข้ากัน ทาให้ทั่วเศียร นำเศียรมาขัดให้เรียบ เพื่อไม่ให้ผิวสัมผัสขุรขระเป็นคลื่นหลุม
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากนั้นนำเศียรไปตากแดดให้แห้ง หลังจากเศียรแห้งสนิทแล้ว นำมาขัดโดยใช้กระดาษทรายขัดให้ละเอียดเรียบเนียน
ขั้นตอนที่ 4 การติดใบหูช้างให้กับเศียร
ขั้นตอนที่ 5 ลงรองพื้นสีแดงและทำการปิดทองให้รอบชฎา การใช้สีแดงเป็นรองพื้น จะทำให้สีทองดูสุกสว่างสดใส โดยก่อนการลงปิดทอง จะต้องให้สีแดงแห้งพอหมาดๆ แล้วค่อยปิดทองเปลวลงไปให้ทั่วชฎา ปัดด้วยพู่กันเป็นการเสร็จสิ้นการปิดทอง
ขั้นตอนที่ 6 การลงเพชรพลอยประดับชฎา,การลงสีและวาดลวดลายลงบนเศียร
เพื่อนๆ คนไหนสนใจอยากจะมีหัวโขนไว้สำหรับเป็นของที่ระลีก หรือของประดับตกแต่งบ้าน ก็สามารถติดต่อกับทางวิได้นะค่ะ เพราะพี่ช่างศิลป์เค้าเต็มใจที่จะทำผลงานเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทย สามารถทำเป็นขนาดเล็กประมาณกำปั้นมือก็ได้ค่ะ วิยังคิดว่าถ้าทำรีสอร์ทแล้วได้กำไรสักหน่อย จะสั่งให้พี่เค้าทำหัวโขนขนาดเล็กลงมา เผื่อถ้าลูกค้าชาวต่างชาติสนใจอยากจะซื้อกลับบ้านก็น่าจะดีค่ะ ช่วยกันเผยแพร่ความงามของศิลปะไทยไปในตัว
ขอบคุณค่ะ
วิ
งดงามมากค่ะน้องวิ ขั้นตอนการปิดทองนี่ดูต้องพิถีพิถันมากนะคะ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
สวยมาก
ขอบคุณมากค่ะ คุณศักดา อีกหนึ่งผลงานไทยสวยๆ ที่อยากจะเอามาโชว์เพื่อนๆ ค่ะ
ครับยอมรับว่าสวยจริงๆ
สวยมากเลยค่ะพี่วิ
สวยจริง น้องนุ้ย ถ้าผู้ใหญ่อยากได้ไปเป็นของขวัญบอกพี่วินะ ราคาไม่แพงเลย
ยุ่งยากหลายขั้นตอนนะ กว่าจะเสร็จ
สวัสดีค่ะ พี่หมู,
วินับถือคนทำเลยค่ะ ต้องใจเย็นและก็ละเอียดมากเลย งานดีค่ะ ยังติดใจว่าจะต้องสั่งมาอีกแน่ๆ ค่ะ
เป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนมากเลยนะคะ😅 คุณวิ ละเอียดสวยงาม ต้องมีความตั้งใจสูงกว่าจะเสร็จเป็นหัวโขนแต่ละอัน
โบว์ ดีใจมากๆที่สุด ค่ะ
ที่ได้รู้ว่า พี่วิ @winutcha
ศรัทธา
วัดแขก
ค่ะ
😀💞💫👰👸👪😋🍓🍒💰💼🌴💫🙏
กำลังรออยู่เรยค่ะ
ถ้าได้ สั้ง หัวโขนขนาดเล็ก อย่าลืมเอาแชร์กันบ้างนะคะ ^^/
เดี๋ยวพี่ต้องทำงานเก็บเงินเยอะๆ เลยค่ะ อยากจะเอาไว้ประดับในห้องพักลูกค้าด้วย อิๆ
ขอให้กิจการรุ่งเรืองนะคะ ^^/
สวยงามตามท้องเรื่องค่ะพี่วิ ขอบคุณที่แชร์สิ่งดีๆแบบนี้เสมอมานะคะ ^^
งานปราณีตมากครับพี่วิ สวยงามครับ
สุดยอดจริงๆเลยคุณเพื่อน. หาเรื่องราวมานำเสนอน่าสนใจตลอด