Modern Android : โลกของนักพัฒนา Android
สวัสดีเพื่อนๆ ชาว steemians ทุกคนนะครับ
- ช่วงนี้เทคโนโลยีหลายๆด้านพัฒนากันเยอะเลยละครับ ซึ่งวันนี้ผมนำข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาของระบบ Android มาให้ได้อ่านกัน ซึ่งการพัฒนานี้อาจจะเป็นปัญหากับอุปกรณ์รุ่นเก่าๆ แต่ก็ดีสำหรับอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่พัฒนามาพร้อมกับระบบครับ เราลองมาอ่านข้อมูลกันนะครับ
ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (2017-2018) กูเกิลยกเครื่องหลายส่วนของแพลตฟอร์ม Android ไปเยอะมาก ในระดับที่ว่าตำราพัฒนาแอพ Android ที่อายุเก่าเกิน 2-3 ปีอาจล้าสมัยไปหมดแล้ว แพลตฟอร์ม Android ในปี 2018 มีความแตกต่างจาก Android ปี 2008 แบบที่เรียกได้ว่าไม่เหมือนกันเลยอย่างสิ้นเชิง
ในงาน Google I/O 2018 มีหัวข้อที่พูดถึงประเด็นนี้โดยตรง ผู้นำเสนอเป็นคนที่โลก Android คุ้นหน้ากันมานานอย่าง Romain Guy และ Chet Haase ใช้คำว่าตอนนี้เราเข้าสู่ "Android ยุคใหม่" (Modern Android) แล้ว ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ที่สอนกันมาในหมู่นักพัฒนาอาจใช้งานไม่ได้อีกต่อไป
จาก Timeline จะเห็นว่าในอายุขัย 10 ปีของ Android มีจุดเปลี่ยนที่ราวปี 2013 จากการเปิดตัว Android Studio ในฐานะเครื่องมือพัฒนาหลักตัวใหม่ (มาแทนปลั๊กอิน Eclipse ของเดิม) แต่กว่า Android Studio จะนิ่งก็ต้อง รอจนถึงปลายปี 2014 ในเวอร์ชัน 1.0
หลังจากนั้นเป็นต้นมา โลกของ Android ก็เกิดภาวะการ "ถอดเปลี่ยนชิ้นส่วน" เอาของเก่าล้าสมัยออก เอาของใหม่ใส่เข้าไป เรียกได้ว่าแทบทุกส่วนนับตั้งแต่ IDE, ภาษา, รันไทม์ ไปจนถึงส่วนยิบย่อยอื่นๆ ด้วย
Tools: Android Studio
- เริ่มจากเครื่องมือพัฒนา เปลี่ยนจาก Eclipse Plugin มาเป็น IDE ของตัวเองอย่าง Android Studio ที่พัฒนาอยู่บน IntelliJ IDEA
- มาถึงตอนนี้ต้องบอกว่า Android Studio ค่อนข้างเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกพร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็น visual layout editor, realtime profiler, APK analyzer เป็นต้น
Runtime: ART
- การเปลี่ยนแปลงรันไทม์จาก Dalvik เป็น ART เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย KitKat (เริ่มใช้จริงใน Lollipop) มาถึงตอนนี้ ART กลายเป็นมาตรฐานเดียวของรันไทม์ Android ไปเรียบร้อยแล้ว
- ในแง่ของนักพัฒนาและผู้ใช้คงไม่มีอะไรต้องเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่การเปลี่ยนจาก Dalvik ที่ออกแบบมาบนมือถือทรัพยากรต่ำ (Android สมัยแรกๆ มีแรมไม่ถึง 64MB) มาสู่ ART ที่สร้างมาเพื่อสมาร์ทโฟนยุคใหม่ ก็ช่วยให้ประสิทธิภาพของ Android ดีขึ้นมาก
Language: Kotlin
- สถานะของ Android ตอนนี้รองรับสองภาษาคือ Java และ Kotlin อย่างเท่าเทียมกัน แต่ทิศทางของกูเกิลก็เห็นได้ชัดว่ามุ่งไปทาง Kotlin และในการบรรยาย Modern Android ทางทีมงานก็ยอมรับว่าซัพพอร์ต Java เวอร์ชันใหม่ๆ ได้ช้าเกินไป และแนะนำว่า Kotlin คืออนาคต
- ประกาศสำคัญอีกอย่างของ I/O 2018 คือ Android Jetpack ซึ่งเป็นการรวมไลบรารีสนับสนุนการเขียนแอพให้เป็นชุดเดียวกัน ใช้แบรนด์ใหม่ว่า Android Jetpack
- Jetpack ไม่ใช่ของใหม่ 100% หลายอย่างเป็นสิ่งที่นักพัฒนา Android คุ้นเคยกันอยู่แล้ว (เช่น Fragment) และหลายส่วนนำมาจาก Android Architecture Components ที่ประกาศในงาน I/O 2017 เช่น Rooms (ฟีเจอร์เก็บข้อมูลที่ครอบบน SQLite) หรือส่วนของ Lifecycles, LiveData, ViewModel
- ของใหม่อีกอย่างใน Google I/O 2018 คือ Material Theming พัฒนาการขั้นกว่าของ Material Design
- ในแง่หลักการออกแบบคงไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่ในแง่การสร้างสไตล์เฉพาะของแต่ละแอพให้เป็นที่จดจำได้มากขึ้น Material Theming จะเข้ามาช่วยผลักดันตรงนี้ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าจะเริ่มเห็นผล เพราะแอพของกูเกิลเองก็เพิ่งเริ่มใช้เป็นบางตัวเช่นกัน
Distribution: Android App Bundle
นอกจากตัวแอพของเราแล้ว โลกของการกระจายแอพไปยังผู้ใช้ผ่าน Google Play ก็เปลี่ยนไปจากเดิม มีเทคนิคใหม่ๆ อย่าง Google Play Instant หรือ Android App Bundle เพิ่มเข้ามา
นักพัฒนา Android แทบทุกคนต้องใช้งาน Google Play อยู่แล้ว ก็ควรเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ เหล่านี้เช่นกัน
Modern Android ยังมีรายละเอียดเชิงลึกอีกมาก เช่น การใช้ fragment หรือการใช้ ContrainLayout นักพัฒนาสาย Android ควรอัพเดตความรู้ของตัวเองให้เป็นปัจจุบัน เพราะความรู้เดิมๆ บางส่วนอาจล้าสมัยไปแล้ว (โลกมันโหดร้าย) และคงไม่มีใครพูดเรื่องนี้ได้ดีเท่ากับทีมพัฒนา Android โดยตรง
เป็นไงละครับ สิ่งที่นักพัฒนา Android กำลังจะจัดทำขึ้นมา มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งรอดูกันว่าจะมีการเปิดให้ใช้งานเมื่อไร เทคโนโลยีนี้พัฒนาไม่หยุดยั้งจริงๆครับ
Credit : Android
- ฝากต่อท้าย ขอให้เพื่อนๆโหวต Witnesses ให้กับ @curie ด้วยนะครับ กลุ่มผู้สนับสนุน Steemit Thai Community ของพวกเรามาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน 🙏🏻
ขอบคุณสำหรับข้อมูลข่าวสารนี้ค่ะพี่เบส @jakkris 🤗🌐💻📰😋
ไม่เป็นไรครับน้องออมสิน แบ่งปันข้อมูลกัน 👍🏻😁
Hi jakkris,
LEARN MORE: Join Curie on Discord chat and check the pinned notes (pushpin icon, upper right) for Curie Whitepaper, FAQ and most recent guidelines.
คุณจักกิดค่ะ คืออยากโพดวีดีโอผ่านที่Dtubeต้องทำอย่างไรค่ะ
อันนี้เบสทำไม่เป็นเหมือนกันครับ ยังไม่เคยลองเลย 😅
ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณมาก