รู้จัก Loom Network, โปรเจคบนบล็อคเชนที่ไม่มี Whitepaper แม้แต่หน้าเดียว

in #thai6 years ago (edited)
  • ทีมงานไม่เขียน Whitepaper เพื่อขอระดมทุนเหมือนกับ ICO อื่นๆทั่วไป
  • ทีมงานเลือกที่จะสร้างแอปพลิเคชั่นเล็กๆที่ใช้งานจริงให้ได้เร็วที่สุด
  • จากนั้นพัฒนาต่อไปตามเสียงตอบรับของผู้ใช้งาน
  • เปรียบเทียบกับกรุงปารีส มีผังเมืองที่ยุ่งเหยิง แต่กลับมีผู้อยู่อาศัยมากที่สุด
  • เนื่องมาจากการพัฒนาตามสิ่งที่ผู้อยู่อาศัยต้องการจริงๆ
  • ตลอดระยะเวลา 6 เดือน มีแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานได้แล้ว 3 ชิ้น
  • กระบวนการทั้งหมดนี้ ไม่มี Whitepaper แม้แต่หน้าเดียว
  • กระบวนการพัฒนาแบบ Decentralize หรือ การกระจายอำนาจ ยังอยู่ในยุคเริ่มต้น ชุมชนผู้ใช้งานที่ดีจะส่งผลให้โลก Decentralize เป็นโลกที่ปราศจากผู้กุมอำนาจตัวกลางอย่างแท้จริง

Loom Logo
ภาพจาก: loomx.io

ตั้งแต่ Bitcoin ถือกำเนิดขึ้นมานับทศวรรษ ทุกๆโปรเจคที่พัฒนาขึ้นบนบล็อกเชนนั้นใช้เอกสารตีพิมพ์ที่เรียกว่า "Whitepaper" เพื่อบอกว่าทีมจะทำโปรเจคเกี่ยวกับอะไร เพื่อขอระดมทุนกับนักลงทุนผู้สนใจในบล็อกเชน

ปัญหาคือ Whitepaper ส่วนใหญ่นั้นเชื่อไม่ได้ พวกเขาหาช่องโหว่ในสภาวะตลาดที่มีแต่นักลงทุนที่หวังเก็งกำไรระยะสั้นกับ ICO, พวกเขาเขียน Whitepaper แบบโฆษณาเกินจริงเพื่อหลอกลวงนักลงทุนให้ยอมลงทุนด้วย ที่น่าตกใจคือ โปรเจคลมเหล่านี้ได้เงินลงทุนไปหลายสิบล้านดอลลาร์

หากจะเปรียบเทียบ, การอ่าน Crypto Whitepaper เป็นเหมือนการได้ฟังเรื่องราวดีๆแล้วรู้สึกดีแบบไม่มีเหตุผล ทุกอย่างในนั้นดูดีไปหมด

คุณคงเคยเจอโปรเจคที่มี Whitepaper สวยหรู แต่ไม่มีผลงานที่ใช้งานได้จริง มันเหมือนกับบริษัท Startup หน้าใหม่ที่ไม่มีลูกค้าเป็นของตัวเองเลย แต่เขียนแผนธุรกิจล่วงหน้าไปเป็นปีๆ ไม่มีทางที่นักลงทุนจะรู้ว่าสุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์นั้นจะทำได้จริงเหมือนที่กล่าวไว้ใน Whitepaper หรือไม่ ก็มันยังไม่เคยลองตลาดจริงเลยนี่ ใช่ไหมล่ะ

แต่ทีมงาน Loom Network นั้นแตกต่าง แทนที่จะวุ่นวายกับการเขียน Whitepaper, ทีมเลือกที่จะเขียนโค้ดและออกแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานได้จริงให้เร็วที่สุด

ทีมเชื่อว่า ไม่มีทางที่คนเราจะมีนิมิตวิเศษมองเห็นและเข้าใจไอเดียโปรเจคนั้นทุกอย่างในวันแรกที่คิดออก ทางที่ดีที่สุดคือ สร้างผลิตภัณฑ์เล็กๆที่ใช้งานจริงให้ได้เร็วที่สุด แล้วพัฒนาต่อไปตาม feedback ที่ได้รับ

ตัวอย่างในโลกแห่งความจริง

*ลองดูผังของมหานครอย่างปารีส, ดูยุ่งเหยิง, ขาดการจัดการ, ไม่เป็นระเบียบ ใช่ไหมล่ะ

Paris Map
ภาพจาก: atlantislsc.com

ทีนี้ลองดูเมืองบราซีเลีย เมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศบราซิล ทุกอย่างดูทันสมัย, เป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี

Brasilia Map
ภาพจาก: mapsland.com

ในด้านของการออกแบบ แน่นอนว่าบราซีเลียนั้นดูดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด แล้วถ้าต้องเลือกว่าจะอยู่เมืองไหน ลองมาฟังข้อมูลเหล่านี้ดู

  • "ใจกลางเมืองนั้นเงียบเหงาไร้ชีวิตชีวา มีนกพิราบมากกว่าผู้คนเสียอีก" -ชาวเมืองบราซีเลียผู้หนึ่งกล่าว

จากมุมมองนักออกแบบ มันควรจะได้ผลตอบรับดีกว่านี้ แต่ในความเป็นจริงมันกลับไม่ได้รับความนิยมและออกจะแย่เสียด้วยซ้ำ ก็เหมือนกับเครือข่ายบล็อกเชนนั่นแหละ, เมืองที่ผู้คนอยากอาศัยมากที่สุดนั้นพัฒนาขึ้นมาแบบ "bottom-up" คือเริ่มจากสิ่งเล็กๆที่มีผู้ใช้งานจริงๆก่อน แล้วค่อยขยับขยายออกไปอย่างมั่นคง ไม่เหมือนบราซีเลียที่สร้างแบบ "top-down" โดยเริ่มจากการออกแบบผังเมือง ผู้คนมักเลือกเมืองที่มีคนอยากจะอาศัยอยู่จริงๆ มากกว่าจากสิ่งที่เห็นบนแผนที่ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ปารีสเติบโตและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน

เมืองบราซีเลีย เกิดจากการวางแผนแบบ "Centralize(อำนาจจากส่วนกลาง)" ที่เป็นการพัฒนาเมือง top-down
ในกรณีของกรุงปารีส, เกิดจากความต้องการแท้จริงของผู้อยู่อาศัย เป็นพัฒนาเมืองแบบ bottom-up

Loom Network กำลังสร้างแอปพลิเคชั่นในโมเดลของกรุงปารีส

ทีมเชื่อว่าระบบที่ทำงานอันซับซ้อนและเติบโตได้อย่างมั่นคงต้องเริ่มจากระบบเล็กๆที่ทำงานได้อย่างมีสเถียรภาพก่อนแล้วค่อยพัฒนาเป็ระบบใหญ่ๆ แทนที่จะพยายามสร้างแอปพลิเคชั่นให้สมบูรณ์แบบในครั้งเดียว ทีมเลือกที่จะสร้างสิ่งง่ายๆที่ใช้งานได้จริง แล้วพัฒนาต่อยอดไปตามข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริง

หากจะยกตัวอย่างสิ่งที่พัฒนาจากข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริง ต้องดูการสร้างทางเดินตัดสนามหญ้าของ Oregon State University, คณาจารย์เลือกที่สร้างทางเดินตามรอยหญ้าที่นักศึกษาเดินเหยียบ แทนที่จะลงมติกำหนดเอาเองว่านักศึกษาควรเดินเท้าไปทางไหน

Derek Sivers - Oregon State University Walkways
ภาพจาก: sivers.org

  • ระบบที่เป็น Centralize จะพยายามมองหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการแบบ top-down
  • แต่ระบบที่เป็น Decentralize จะมองหาระบบที่มีการเติบโตที่แท้จริง โดยใช้กระบวนการแบบ bottom-up

หากจะบอกว่าระบบ Decentralize ที่ใช้โมเดลการพัฒนาแบบ bottom-up นั้นพัฒนาตามความต้องการของชุมชนผู้ใช้งานคงไม่ผิดนัก

บทส่งท้าย

ตลอดระยะเวลา 6 เดือนของโปรเจค ทีมงานได้สร้างแอปฯขึ้นมา 3 ตัว คือ

  • CryptoZombies - เว็บสอนสร้างเกมบนบล็อกเชน
  • DelegateCall - กระดานถาม-ตอบบนบล็อกเชน
  • EthFiddle - คล้ายๆกับเว็บทดสอบสคริปชื่อดังอย่าง JSFiddle

ซึ่งทั้งหมดที่ทำมานี้ ไม่มีกระบวนการ Research & Develop หรือ Whitepaper แม้แต่หน้าเดียว ทีมทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นอย่างเดียว และเป็นการพิสูจน์สมมติฐานของทีมในโลกแห่งความจริงอีกด้วย

จากผู้เขียน

  • หากมองย้อนกลับไปในยุคแรกเริ่มของ Internet, ผู้คิดค้นนั้นต้องการโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน หากแต่ความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลส่วนใหญ่กลับอยู่ใน server ของบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่บริษัท และบริษัทเหล่านี้อาจแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่ในมือเมื่อไหร่ก็ได้ (ดังเช่นกรณีของ Facebook กับ Cambridge Analytica)
  • ในโลกของ Decentralize (aka. การกระจายอำนาจ) การพัฒนาทุกอย่างถูกขับเคลื่อนโดยชุมชนผู้ใช้งานโดยแท้จริง ผลผลิตที่ออกสู่โลกบล็อกเชนนั้น ล้วนเป็นไปตามความต้องการของชุมชนทั้งสิ้น
  • เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของยุค Decentralize, ผู้ที่เชื่อในระบบกระจายอำนาจ ไม่ต้องการตัวกลางมาคอยควบคุม มีหน้าที่สร้างผลผลิต ที่ออกมาจากชุมชนให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง

ที่มา:
Loom Network, Where’s Your Whitepaper?
Why the 'Worst' Crypto Networks Will Be The Biggest


ชอบบทความ โหวตให้กำลังใจได้ครับ สมัครที่นี่
หรือ สมัครไม่ได้ วิธีสมัคร Steemit

Sort:  

มี loom อยู่ในพอร์ตเรียบร้อย ลุ้นกันไปสนุกๆครับตัวนี้ อินดี้ดี ผมชอบครับ 😁

ว่าจะกวาดเก็บไว้เหมือนกันครับ เป็นแพลตฟอร์ม dApp ที่เกี่ยวกับเกมตัวแรกในตลาด ถือว่าเริ่มต้นได้ดีทีเดียว

Coin Marketplace

STEEM 0.19
TRX 0.18
JST 0.039
BTC 90343.33
ETH 3214.39
USDT 1.00
SBD 2.84